8 เรื่องที่อาจไม่รู้ กรังด์ปรีซ์ หลังม่านเหล็ก

8 เรื่องที่อาจไม่รู้ กรังด์ปรีซ์ หลังม่านเหล็ก
“ฮังกาเรี่ยน กรังด์ปรีซ์” สุดยอดการแข่งขัน ฟอร์มูล่า วัน แห่งยุโรปตะวันออก ประวัติศาสตร์ยาวนานเล่าขานและเซอร์ไพรส์ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะที่นี่ยินดีต้อนรับแชมป์หน้าใหม่เสมอ




1. ทำไม ฮังกาเรี่ยน กรังด์ปรีซ์ จึงเป็นรายการ “หลังม่านเหล็ก”


หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง หลายประเทศในยุโรปตะวันออกเป็นดินแดนที่เข้าถึงยาก เนื่องจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี อยู่ฝ่ายอักษะและเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม โดนรัสเซียยึดอำนาจ ฮังการีบางส่วนกลายเป็นดินแดนในเขตสหภาพโซเวียต เวลาผ่านเนิ่นนานมาถึงช่วงต้นยุค 1980s เบอร์นี่ เอ็คเคิ่ลสโตน ผู้บริหารใหญ่ ฟอร์มูล่า วัน ในตอนนั้นมีความมุ่งมั่นที่จะจัดการแข่งขันที่รัสเซียแบบ สตรีท เซอร์กิต แต่สงครามเย็นยังไม่สิ้นสุด 


เอ็คเคิ่ลสโตน จึงทำตามคำแนะนำของเพื่อนสนิทชาวฮังการีให้ลองย้ายมาเจรจาที่บูดาเปสต์ซึ่งพร้อมต้อนรับ เอฟ วัน อย่างงดงาม จากนั้นสภาเมืองนำเรื่องเข้าที่ประชุม และตอบตกลง โดยใช้เวลาสร้างสนามเพียง 8 เดือนเท่านั้น


2. ฮังกาเรี่ยน กรังด์ปรีซ์ อันยาวนานต่อเนื่องอันดับ 2


หลังจากสร้างสนามที่อยู่ไม่ห่างเขตเมืองหลวงบูดาเปสต์ เสร็จสิ้นพร้อมเปิดการแข่งขันในปี 1986 ตั้งแต่นั้น ฮังการอริง ไม่เคยหายไปจากปฏิทิน ฟอร์มูล่า วัน ต่อเนื่องกัน 35 ปีถึงปัจจุบัน เป็นรองเพียง มอนซ่า เซอร์กิต ในอิตาลี ที่แข่งขันต่อเนื่องมานานมากที่สุด 37 ปี 


ปัจจุบันสัญญาการแข่งขันที่ ฮังการอริง ยังอยู่อยู่ถึงปี 2026 และมีออปชั่นที่จะยายไปได้ถึงปี 2027


3. . เรซแรกกับผู้ชมมากกว่า 200,000 ชีวิต


ปี 1986 ระหว่างที่สงครามเย็นยังไม่สิ้นสุด ฟอร์มูล่า วันเปิดตลาดในยุโรปตะวันออก และผู้ชมต่างก็แห่แหนมาจากทั่วสารทิศ จากประเทศใกล้เคียง มากกว่า 200,000 รายทั้งที่ค่าตั๋วในยุคนั้นเรียกได้ว่ามีราคาแพงมาก แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปี สงครามเย็นสิ้นสุด หลายประเทศมีเอกราชและมี รัสเซี่ยน กรังด์ปรีซ์ ที่ โซชิ ในเวลาต่อมา แต่ฮังการียังเป็นสัญลักษณ์แห่งการเปิดม่านเหล็ก และรายการที่ไม่เหมือนใครในยุโรปตะวันออก


4. สนามเหย้าของชาวฟินน์


“กรังด์ปรีซ์ ออฟ ฟินแลนด์” คำนี้มาจากปากของ คิมี่ ไรโคแน่น ตำนานนักขับที่เพิ่งอำลาอาชีพไปหมาดๆ เมื่อปีก่อน ทุกครั้งที่เดินทางมาที่นี่เขาจะได้รับเสียงเชียร์จากคนบ้านเดียวกัน เนื่องจากการเดินทางมายังฮังการีทางรถยนตร์ใช้เวลา 27 ชั่วโมง แต่ทั้งที่เขตประเทศติดกับออสเตรีย ที่นั่นมีเจ้าถิ่นคือ เร้ดบูลล์ เป็นผู้สนับสนุนหลัก ทำให้ชาวฟินน์แห่แหนกันมาที่นี่


นอกจาก คิมี่ ยังมี วัลเตรี บ็อตตาส ที่ได้เสียงเชียร์อุ่นหนาฝาคั่ง รวมถึง เฮกกิ โควาไลเน่น ที่เคยมาคว้าแชมป์ด้วย


5. นักขับสัญชาติฮังกาเรี่ยนหนึ่งเดียว


ซอลท์ บอมการ์ทเนอร์ เป็นนักขับเจ้าถิ่นหนึ่งเดียวที่เคยมาร่วมแข่งขันที่นี่ ครั้งแรกในปี 2003 เขาเข้ามาแทนที่ ราล์ฟ เฟอร์แมน ชาวไอริชที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุในรอบซ้อม แต่ไม่สามารถแข่งจนจบเนื่องจากเครื่องยนตร์มีปัญหา ต้องออกไปทั้งที่การแข่งขันดำเนินมาครึ่งทาง 


หลังจากได้เป็นนักขับอาชีพในปีถัดมา บอมการ์ทเนอร์ จบการแข่งขันด้วยอันดับ 15 ในสนามที่บ้านเกิด ส่วนผลงานที่ดีที่สุดในศึก ฟอร์มูล่า วันคือ ยูเอส กรังด์ปรีซ์ 2004 ได้อันดับ 8 และ 1 คะแนน


6. สนามเปียกที่เลือกไม่ได้ โมนาโก กรังด์ปรีซ์ ภาค 2


ฮังการอริง เป็นสนามที่มีความยาวรอบไม่มาก หนทางค่อนข้างคดเคี้ยว 14 โค้ง และความกว้างสนามสุดหวาดเสียว คล้ายกับ โมนาโก กรังด์ปรีซ์ แซงได้ยาก ช่วงที่จัดการแข่งขันเป็นหน้าร้อนของยุโรป อากาศจึงอบอุ่นค่อนไปทางร้อน และเนื่องจากสนามตั้งอยู่กลางหุบเขาทำให้มีฝุ่นดินจำนวนมาก


ปี 2006 ไอร้อนก่อตัวควบแน่นเป็นฝน ฝนตกทำให้พื้นสนามเปียก ที่นี่กลายสภาพไม่ต่างจาก โมนาโก สตรีท เซอร์กิต และมีอุบัติเหตุทำให้รถ 8 จาก 22 คันต้องออกจากการแข่งขัน และเนื่องจาก โมนาโก จีพี ในปีนี้ฝนถล่มลงมา เราอาจเห็นการเปลี่ยนแปลงหรือสนามที่กลายสภาพอย่างไม่คาดคิด 


7. ฮังการอริง ยินดีต้อนรับแชมป์หน้าใหม่


ปี 2006 สนามเปียกทำให้การแข่งขันพลิกไปมา เจนสัน บัตตัน คว้าแชมป์ครั้งแรกในอาชีพที่ีนี่ แต่เขาไม่ใช่คนเดียว เฮกกิ โควาไลเน่น นักขับชาวฟินแลนด์ที่ได้เสียงเชียร์กระหึ่มและพลังใจก็ทำได้ที่นี่ในปี 2008 รวมถึง เดม่อน ฮิลล์ และ เฟร์นานโด อลอนโซ่ ก็มีความทรงจำอันดีสมัยที่เขาเพิ่งอายุ 22 ปี


แชมป์หน้าใหม่รายล่าสุดที่เกิดขึ้นใน ฮังการอริง คือ เอสเตบัน โอคอน ซึ่งปี 2021 สนามกึ่งเปียกทำให้เขาและ อัลพีน เร็วเหลือเชื่อ


8. ฮังการี ไม่เป็นมิตรกับแชมป์


ตลอดความยืนยง 35 ปีต่อเนื่องกันของ ฮังกาเรี่ยน กรังด์ปรีซ์ พบว่า ผู้ที่คว้าแชมป์โลกได้ในปีนั้นมีเพียง 12 ครั้งที่สามารถคว้าแชมป์สนามนี้ด้วย หรือคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่นักขับเจ้าของแชมป์สนามนี้จะได้เป็นแชมป์โลกในบั้นปลาย

F1DRIVE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร :

Website : www.truevisions.co.th

Facebook : Truevisions

Twitter : @TrueVisions

Line : @Truevisions

Youtube official : Truevisionsofficial

Instagram : Truevisionsofficial